CIO คืออะไร ? ความหมายที่แท้จริง

ตำแหน่ง CIO คืออะไร ?

มาทำความรู้จัก CIO กันเถอะ.. มนุษย์ออฟฟิศทั้งหลายในบริษัทต่างน่าจะคุ้นชินกับงานในส่วนของการจัดการองค์กรไม่ว่าจะเป็นการจัดการในด้านสารสนเทศ การจัดการองค์กรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี

CIO ย่อมาจาก : “Chief Information Officer

CIO แปลว่า : “ประธานเจ้าหน้าที่สารสนเทศ”

CIO คือ : ผู้มีอำนาจสูงสุดในการดูแลบริหารในส่วนนี้ซึ่งจะมีความสำคัญในเรื่องของการให้บริการแก่ลูกค้าและองค์กรรับผิดชอบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศภายในองค์กร

หน้าที่ของ CIO

เป็นแผนกที่ต้องดูแลในเรื่องของแผนกลยุทธ์ แผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน โดยจะต้องทำการรวบรวมและเก็บข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กรมิให้รั่วไหลไปให้บริษัทคู่แข่งได้ทราบถึงความเคลื่อนไหวจากทางองค์กรของเรา ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมักเกี่ยวข้องกับมาตรฐานกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่าง ๆ ของบริษัท รวมทั้งข้อมูลสำคัญอย่างเช่นโครงสร้างงบประมาณกระบวนการให้ความรู้ในการเทรนนิ่งบุคลากรก่อนและหลังจากการเริ่มงาน แม้ในขณะปฏิบัติงานก็ตาม จัดการเกี่ยวกับระบบในการปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละแผนกที่ต้องใช้ความละเอียดและความรอบคอบในเชิงลึกของงานในส่วนนั้น ๆ จะต้องถูกเก็บไว้อย่างเป็นระบบและสามารถนำออกมาใช้งานได้ตลอดทุกเมื่อ โดยไม่มีการบิดเบือนข้อมูลจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แผนกไอทีสารสนเทศนี้เปรียบเสมือนผู้ที่รับผิดชอบในการพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกขององค์กรให้แข็งแรงรวมไปถึงระบบการสื่อสารคมนาคมภายในองค์กรให้อีกด้วย

ทักษะที่สำคัญของ CIO

ผู้ที่ดำรงในตำแหน่ง CIO จะต้องเป็นคนที่มีความคิดในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมแก่องค์กร เพื่อเพิ่มความทันสมัยและความสะดวกสบายต่อการใช้งานกับระบบภายในองค์กรให้ได้มากที่สุด มีวิสัยทัศน์และชอบการเปลี่ยนแปลงองค์กรให้ไปในทางที่ดี สามารถดูแลลูกทีมให้อยู่ในระเบียบวินัยและทำงานได้อย่างเป็นระบบ อีกทั้งควรจะต้องมีระบบการจัดการและเทคนิคที่จำเป็นในการสร้างระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศอย่างชำนาญเพื่อสร้างแบบแผนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและสามารถลงมือทำได้จริง

CIO ในอุดมคติ

ในส่วนของทัศนคติจะต้องมีลักษณะนิสัยที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความน่าเชื่อถือ ฉลาดเฉียบแหลมในการแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วถึงแม้จะอยู่ภายใต้แรงกดดันที่สูง มีประสบการณ์และสามารถเข้าใจเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว เป็นคนหัวสมัยใหม่เท่าทันเทคโนโลยี มีเทคนิคในการติดต่อสื่อสารที่ดี สามารถตัดสินใจได้เด็ดขาด นอกจากนี้มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการระบบภายในองค์กรจะต้องมีการอบรมเกี่ยวกับการใช้งานและหารือเสนอแนะหัวข้อที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่มาอัพเดทให้กับองค์กรอยู่เสมอ

นอกจากนั้น CIO ยังต้องสามารถมองการณ์ไกล วิเคราะห์ความผันแปรของเทคโนโลยียุคใหม่ ๆได้อย่างเท่าทัน ไม่ล้าหลังกว่าบริษัทคู่แข่ง อีกทั้งยังเป็นผู้เขียนโปรแกรมที่จะสร้างขึ้นมาในการปกป้องข้อมูลขององค์กร เพื่อตอบโจทย์พนักงานภายใน ผู้บริหาร รวมทั้งลูกค้าทุกคน ให้ประทับใจในความรวดเร็วและทันท่วงทีต่อความต้องการที่จะใช้งานระบบของบริษัท

 

Source : CIO