หนังสือเตรียมสอบ กพ ใน 30 วัน

9 เทคนิค ‘เตรียมสอบ ก.พ.’ (สอบภาค ก) อย่างไรให้ผ่านในครั้งเดียวภายใน 30 วัน

สำหรับคนที่มีความใฝ่ฝันอยากรับราชการไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม วันนี้เว็บไซต์ยางมะตูมมีโอกาสได้เขียนบทความรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับการเตรียมสอบ ก.พ. เรียกได้ว่าเต็มที่อยู่ในบทความเดียวและผมต้องบอกก่อนว่าตัวผมเองก็สอบรับราชการมาเหมือนกัน ตัวผมเองสอบได้ตั้งแต่ปี 2552 เริ่มบรรจุตั้งแต่อายุ 25 ปี จนถึงตอนนี้ก็หลายสิบปีแล้ว

ในบทความนี้เลยจะมาบอกแนวทางการเตรียมสอบ ก.พ. ทั้งการอ่านหนังสือ การเลือกหนังสือ การแบ่งเวลาอ่านหนังสือ การบริหารเวลาในห้องสอบให้คุ้มค่ามากที่สุด เพื่อให้ผู้ที่กำลังจะสอบภาค ก. ของสำนักงาน ก.พ. หรือกำลังเตรียมสอบ ก.พ. เพื่อเข้ารับราชการของหน่วยงานอื่นๆ ได้มีโอกาสได้รับราชการเช่นเดียวกับผมครับ

9 เทคนิค ‘เตรียมสอบ ก.พ.’ ให้ผ่านในครั้งเดียว

1. ตั้งใจแน่วแน่

หากจะพูดอีกอย่างก็คือ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง อ้างนู้นอ้างนี้นิสัยแบบนี้จะทำให้เราไม่ได้ทำในสิ่งที่เราตั้งใจไว้สักที เช่น วันนี้ตั้งใจจะดูยูทูปเตรียมสอบ ก.พ. สักวันละ 2 ช.ม. แต่ว่ากับกลายเป็นว่าไปนั่งดูละคร ดูซีรี่ย์จนหมดดึกดื่นเที่ยงคืนแบบนี้ก็ไม่ไหวนะครับ แล้วจะมาเร่งอ่านหนังสือช่วง 1 สัปดาห์สุดท้ายโดยหวังว่าจะสอบผ่านในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์ บอกได้เลยว่ายากมาก (สำหรับคนที่สอบติดเขาต้องมีประสบการณ์สอบหรือข้อมูลในสมองอยู่แล้ว)

2. รู้จุดเด่นจุดด้อยของตัวเอง

รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง คำพูดนี้ยังใช้ได้ดีกับทุกสถานการณ์ครับ ก่อนจะไปสอบนอกจากจะรู้ว่าสถานที่สอบเขาสอบที่ไหน มีข้อสอบอะไรบ้าง เริ่มเวลากี่โมง นอกจากนี้ให้หันมามองตัวเราว่าขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง เช่น คนส่วนใหญ่บอกว่าอ่อนภาษาอังกฤษ หรือไม่ถนัดเลข (เงื่อนไขทางสัญลักษณ์)

เรามาลองคิดดูสิว่าเราอ่อนยังอย่างไร เช่น คิดคำนวณช้า อ่านภาษาอังกฤษช้าหรือแปลคำศัพท์ช้า บริหารเวลาไม่ได้ ทั้งหมดเหล่านี้จะทำให้เราวางแผนการอ่านหนังสือได้เป็นอย่างดี เช่น ไม่เก่งแกรมม่าแต่เราอาจจะไปเน้นเก็บคะแนนในส่วนของการอ่านจับใจความบทความสั้นๆ ก็ได้ เพราะสุดท้ายแล้วการสอบ ก.พ. ก็ให้ผ่านที่ระดับร้อยละ 60 หรือ 65 ตามระดับวุฒิการศึกษาครับ

3. เตรียมความพร้อม

คำว่าเตรียมพร้อมหมายถึง การเตรียมทุกสิ่งอย่าง เช่น การดูเรื่องการเดินทางไปสถานที่สอบ เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอบ เตรียมจัดตารางการอ่านหนังสือ สิ่งเหล่านี้อ่านดูเป็นเรื่องพื้นฐานแต่รู้ไหมครับว่าตัวผมเองก็เคยพลาดเรื่องลืมหยิบเอกสารที่ใช้สำหรับเข้าห้องสอบ โชคดีที่การสอบในครั้งนั้นสามารถใช้บัตรประชาชนแสดงตัวได้ หากเราเตรียมความพร้อมเรื่องเล็กเหล่านี้แล้วจะได้มีเวลามุ่งมั่นไปกับอ่านหนังสืออย่างเต็มที่ครับ

4. ปรับวิธีการใช้ชีวิต

ลองคิดดูครับว่าถ้าเราแบบเดิมๆ ผลลัพธ์จะออกมาเดิมๆ ไหม หากยังออกมาแบบเดิมแล้วไฉนยังทำแบบเดิมอีกครับ นี้คือสาระสำคัญของหัวข้อย่อยนี้ หรือจะยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ คือ ปกติแล้วผมจะออกจาก 6.30 โมงเช้าเพื่อขึ้นรถเมล์ไปทำงานแต่หลังๆ รถติดครั้นจะออกเวลาเดิมคงสายแน่นอน ผมเลยลองเปลี่ยนเวลาออกจากบ้านเป็น 6 โมง โดยตืน 5.45 หลังจากนั้นก็ไม่สายอีกเลย

นี้อาจเป็นทริคเล็กๆ น้อยๆ ในการเตรียมตัวสอบ อาจลดเวลาดูหนัง ดูละคร มาเป็นอ่านหนังสือวัน 2 ช.ม. นอนไวขึ้นสัก 21.30 น. ให้ร่างกายสดชื่น ชีวิตไม่เร่งรีบจนเกินไป ผมเชื่อว่าการเรียน การสอบ และการใช้ชีวิตคุณต้องดีขึ้นแน่นอนครับ

5. ค้นหาวิธีการอ่านหนังสือ

หัวข้ออยากให้ทุกคนค้นหาสิ่งที่ตัวเองถนัดให้เจอ เช่น บางคนชอบการจดโน๊ตในสมุด บางคนชอบดูวีดิโอยูทูป บางคนชอบฟังพอดแคสต์ บางคนชอบอ่านหนังสือบนรถเมล์ หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่จากสังเกตดีๆ จะพบว่าทั้งหมดล้วนต้องใช้สมาธิเพื่อจดจ่อในการทำอะไรก็แล้วแต่ เมื่อค้นหาวิธีการในแบบของตัวเองได้แล้วค่อยมุ่งไปในทางที่ตัวเองถนัดครับ

6. หมั่นทบทวนเนื้อหา

ช้อสอบเก่าๆ ถือเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีเลยครับ ในการเตรียมสอบ ก.พ. เพราะไม่ว่าจะผ่านสักกี่ปีแนวข้อสอบก็ยังคงเป็นแบบเดิม สิ่งสำคัญสำหรับเราคือ การทำซ้ำเพราะการทำซ้ำๆ จะทำให้เราชำนาญครับ เช่นเดียวกับการทบทวนเนื้อหาสอบว่า วิชาเลขตั้งคำนวณอย่างไร คำนี้แปลว่าอะไร ใช้เทคนิคอะไรในการคิด ทั้งหมดนี้หากเชี่ยวชาญและชำนาญแล้วจะทำให้ลดระเวลาในการทำข้อสอบ และที่สำคัญยังเพิ่มคะแนนให้เราไม่มากก็น้อยครับ

7. พักผ่อนให้เพียงพอ

การที่เรานอนดึกตื่นสายจะทำให้เรามีนิสัยขี้เกียจครับ ข้อนี้พิสูจน์แล้วว่าจริงจากตัวของผมเองเนื่องจากร่างกายจะเหนื่อยล้าไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ และยังไม่สดชื่น เพราะฉะนั้นอยากให้ลองปรับวิธีการใช้ชีวิต เปลี่ยนเวลาเข้านอน เลิกกิน เลิกดื่มสักพัก และหันมาออกกำลังกายเมื่อร่างกายแข็งแรง สดชื่นแล้ว จะทำให้เรามีกำลังจะทำงานและอ่านหนังสือเตรียมสอบ ก.พ. ต่อครับ

8. แลกเปลี่ยนความรู้กับคนอื่น

ผมเคยอ่านเจอในหนังสือของบริษัท Cisco นะครับว่าปลายทางของคนที่เก่งนั้นเป็นเรื่องของการสอนคนอื่นครับ เพราะการสอนคนอืนจะทำให้เราทบทวนเนื้อหาที่เราเชี่ยวชาญ นอกจากนี้แล้วยังได้รับความรู้จากคนอื่นๆ อีกด้วย มันก็เหมือนกับเราอ่านหนังสือทบทวนแต่คราวเป็นคนเป็นๆ มาคอยซักถาม จะได้มีประสบการณ์ในการพูคุย เรียงลำดับความคิดครับ

9. ทำตัวให้ผ่อนคลาย

หากทำตามทุกข้อเรียบร้อยแล้วก็เหลือแค่ไปลุยในสนามสอบครับ อะไรจะเกิดก็ต้องเกิดครับ อย่าตื่นเต้นคนทุกอย่างพังทลายลงมา ให้คุมสติเอาไว้ค่อยๆ อ่านโจทย์แล้วตอบในตัวเลือกที่ถูกที่สุดครับ ข้อไหนทำไม่ได้ให้ผ่านไปก่อนแล้วค่อยกลับมาทำใหม่อีกที (หากยังมีเวลาเหลือ) สิ่งเหล่านี้จะเป็นวัดว่าเราเตรียมพร้อมมาดีแค่ไหนครับผม

สรุป

การสอบภาค ก. หรือที่เราเรียกกันว่าสอบ ก.พ. เป็นการสอบเข้ารับราชการพลเรือนสามัญจัดสอบโดย สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) ซึ่งจะจัดสอบเพียงปีละ 1 ครั้ง เมื่อสอบผ่านแล้วจะต้องไปสอบ ภาค ข. (ความเหมาะสมกับตำแหน่ง) และ ภาค ค. (สอบสัมภาษณ์)

สำนักงาน ก.พ. เปิดสอบ 3 ระดับคือ ปวช. ปริญญาตรี และปริญญาโท มีทั้งหมดวิชาคือ วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาความสามารถทางภาษาอังกฤษ และวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี นอกจากนี้ผลสอบภาค ก. ยังสามารถนำไปใช้แทนผลสอบภาค ก. ของข้าราชการประเภทอื่นได้ด้วย เช่น ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

สุดท้ายแอดมินหวังว่าบทความเทคนิคเตรียมสอบ ก.พ. ให้ผ่านจะช่วยผู้อ่านให้สามารถสอบเข้ารับราชการได้ดั่งที่ตั้งใจเอาไว้ครับ หากใครมีเทคนิคเตรียมสอบ ก.พ. ดีก็มาแชร์กันได้ครับผม

ที่มา