ความคิด Mindset คือ ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของบุคคลนั้น ๆ โดยคำว่า ‘ความคิด’ นั้นเป็นสิ่งที่เราทุกคนสามารถเรียนรู้มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ซึ่งแต่ละคนนั้นต่างก็มีความคิดที่แตกต่างกันไป และความคิดต่าง ๆ นั้นก็จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ได้เผชิญอยู่ โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดความคิดนั้นก็มาจากการเลี้ยงดูจากคนในครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เราได้อาศัยอยู่ จึงทำให้ผู้คนมากมายล้วนมีความคิดที่ไม่เหมือนกัน อีกทั้งในแง่ของความคิดนั้นยังมีทั้งเรื่องที่ดีและไม่ดีถูกปะปนกันไปอีกด้วย
โดยคำว่า ‘Mindset’ นี้ ที่จริงแล้วก็เป็นคำที่ถูกใช้มาอย่างยาวนาน แต่เริ่มมาเป็นที่นิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เนื่องจากมนุษย์นั้นเริ่มเล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องความคิดที่เกิดขึ้นในจิตใจ ซึ่งนั่นก็เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นได้เลยว่าผู้คนสมัยนี้เอาใจใส่กับเรื่องความคิดกันมากแค่ไหน อีกทั้งยังมีการรณรงค์ให้ผู้คนนั้นมีการใช้ Mindset อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยเฉพาะเยาวชนซึ่งการที่เรานั้นมีความคิดหรือ Mindset ที่ดีจะช่วยให้เกิดความสบายขึ้นในจิตใจลดปัญหาการบูลลี่รวมถึงปัญหาด้านต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้นในสังคมอย่างไม่ได้รับความยินยอมได้
8 กรอบความคิด Mindset สำคัญ
กรอบความคิด หรือ Mindset นั้น ถือเป็นเรื่องที่มนุษย์ควรศึกษาและทำความเข้าใจให้ดีที่สุด เนื่องจากการที่เรามีแบบแผนในการคิดที่ดีนั้นก็จะช่วยให้การกระทำในสิ่งต่าง ๆ มีความดีงามไปด้วย โดยความคิดต่าง ๆ จะเกิดขึ้นจากศีลธรรมหรือจริยธรรมที่ได้เรียนรู้มาส่งผลต่อการคิดอย่างมีเหตุผล อีกทั้งความคิดเหล่านี้นี่เองที่จะเป็นตัววัดว่าคุณนั้นจะสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างประสบความสำเร็จหรือจะล้มเหลว โดยกรอบความคิดที่เราจะมานำเสนอก็คือ กรอบความคิดทั้ง 8 กรอบความคิด ดังนี้ค่ะ
1. Growth Mindset
Growth Mindset คือ ความคิดแบบเติบโตหรือกรอบความคิดแบบพัฒนาขึ้นไป โดยความคิดในลักษณะนี้จะเป็นความคิดของผู้ที่มักจะมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นการผจญภัยหรือการท้าทายในรูปแบบหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกคน ขึ้นอยู่กับว่าปัญหานั้นมันจะเข้ามาเมื่อไหร่เร็วหรือช้าก็เท่านั้น โดยผู้ที่มีความคิดแบบ Growth Mindset นั้น จะเป็นผู้ที่มีความพยายาม ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก และที่สำคัญเขาจะไม่ตัดพ้อชีวิตและมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเป็นเรื่องสนุกอยู่เสมอ
โดยจุดเด่นของผู้ที่มีความคิดแบบ Growth Mindset ที่เห็นได้อย่างเด่นชัดเลยก็คือ ในหัวของพวกเขาจะไม่มีคำว่า ‘ไม่เอา’ , ‘ไม่ทำ’ , ‘เป็นไปไม่ได้’ , ‘มันยากไป’ และอื่น ๆ ซึ่งพวกเขานั้นจะไม่มีคำเหล่านี้อยู่เลย เพราะชีวิตในแต่ละวันพวกเขาจะมุ่งไปที่ประเด็นของการจัดการกับชีวิตของตัวเองและไม่ยึดติดอยู่กับที่ พร้อมที่จะรับสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาอยู่เสมอ ยินดีที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมถึงคำวิจารณ์ที่อาจทำให้ใครบางคนรู้สึกไม่ดี แต่ไม่ใช่กับคนที่มีความคิดแบบ Growth Mindset ซึ่งการฝึกตนเองให้มีความคิดแบบเติบโตหรือความคิดแบบพัฒนาสามารถทำได้ ดังนี้ค่ะ
- รู้จักตัวเอง
สิ่งที่เราจำเป็นจะต้องรู้เป็นอย่างแรกไม่ใช่การรู้จักคนอื่นค่ะว่าเป็นอย่างไร แต่มันคือการรู้จักตัวเอง ซึ่งการรู้จักตัวเองนี้จะทำให้เราสามารถทราบได้ว่าตนเองเป็นคนที่มีนิสัยอย่างไร หากพบเจอกับความสุขแล้วจะเป็นอย่างไร หรือหากเจอกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความยากลำบากแล้วเราควรจะทำอย่างไรจึงจะสามารถก้าวผ่านมันไปได้ ซึ่งคนที่มี Growth Mindset นั้น เขาจะไม่ยึดติดกับสิ่งเหล่านี้ค่ะ แต่คุณจะต้องมองปัญหาที่จะเกิดขึ้นให้เป็นเรื่องที่สนุกหรือเรื่องที่มีความท้าทายเพื่อที่จะทำให้คุณได้ดียิ่งขึ้น
โดยเราทุกคนนั้นจะมี Fixed Mindset เป็นของตนเองอยู่แล้ว ซึ่งเราจะขอเปรียบ Fixed Mindset หรือความคิดที่อยู่กับที่นี้เป็นเสียง ซึ่งหากเสียงนั้นบอกเราว่าทำไม่ได้ อย่างไรก็ไม่สามารถทำได้ หากเราจะต้องการพัฒนาตนเองให้มีความคิดแบบ Growth Mindset แล้ว เราควรจะตอบกับเสียงนั้นว่าอย่างไรจึงจะเหมาะสม ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณจะต้องหาคำตอบด้วยตัวเองค่ะ
- ตอบสนองต่อเสียง
สืบเนื่องจากข้อที่แล้ว เมื่อเสียงนั้นเกิดดังขึ้นในหัวเราแล้ว เราคิดที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาหรือไม่ เพราะหากใช่แสดงว่าคุณยังไม่พร้อมที่จะมี Growth Mindset เพราะคุณยังคงจมปักอยู่กับ Fixed Mindset นั่นเอง ดังนั้นหากคุณอยากปลดล็อคตัวของคุณเองให้มีการพัฒนาที่ดีมากยิ่งขึ้น ก็จะต้องตอบสนองต่อเสียงเหล่านั้นโดยเรานั้นสามารถเลือกที่จะฟังเสียงที่เกิดขึ้นภายในหัวและไตร่ตรองเอาว่าควรทำหรือไม่ควรทำ โดยมีเราเองเป็นคนตัดสินใจ
- ปรับเสียงในหัว
การปรับเสียงในหัวนั้นหากจะพูดในลักษณะนี้ก็ดูจะไม่เข้าใจ ดังนั้นคุณลองนึกถึงเวลาที่คุณเขียนหนังสือนะคะ ซึ่งทุกคนจะมีมืออยู่สองข้างเช่นเดียวกัน เมื่อคุณนำข้างที่คุณถนัดเขียนหนังสือ คุณจะรู้สึกว่ามันง่ายมากและชิวสุด ๆ แต่ในทางกลับกันเมื่อคุณลองเปลี่ยนข้างในการเขียน สิ่งแรกที่คุณจะคิดก่อนเริ่มลงมือเขียนเลยก็คือ “ฉันไม่มีทางทำได้” และเมื่อลงมือทำแล้วก็เป็นดังว่าค่ะเพราะผลลัพธ์ที่ออกมานั้นมันก็ได้ดีเท่าที่ควร แต่หากเราลองปรับเสียงคำว่า “ฉันทำไม่ได้” ให้กลายเป็นคำว่า “ถ้าฉันฝึกบ่อย ๆ ก็คงจะดีขึ้นเอง” มันก็จะเปลี่ยนจาก Fixed Mindset ให้กลายเป็น Growth Mindset โดยอัตโนมัตินั่นเอง
- ทำตัวให้สมกับเป็น Growth Mindset
การทำตัวให้เน Growth Mindset นั้น จะทำให้เราสามารถเรียนรู้วิธีการที่จะพัฒนาตนเองได้ง่ายขึ้น ซึ่งเมื่อเราได้เรียนรู้วิธีการจัดการกับเสียงที่เกิดขึ้นไปดังเช่นที่เราได้แนะนำไปและได้จัดการกับมันด้วยการพุ่งเข้าใส่ปัญหาพร้อมกับรับมือกับมันอย่างมีแบบแผนและยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาสิ่งเหล่านั้นให้ดียิ่งขึ้นและ ก็จะทำให้คุณสมกับเป็น Growth Mindset แล้ว
2. Fixed Mindset
Fixed Mindset คือ ความคิดแบบอยู่กับที่หรือความคิดที่ไม่พัฒนา โดยผู้ที่มี Fixed Mindset นั้นจะมความแตกตางไปจาก Growth Mindset ไปย่างสิ้นเชิง เนื่องจากคนกลุ่มนี้เมื่อเขาต้องพบกับปัญหาเขาเลือกที่จะเดินหนี เมื่อเขาพบเจอกับอุปสรรคเขาก็เลือกที่จะหลบเลี่ยง และเห็นว่าคนทุกคนควรทำแค่หน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องของการประสบความสำเร็จที่จะล้มเหลวไม่ได้เด็ดขาด
เพราะหากเกิดความล้มเหลวหรือผิดพลาดในเรื่อวใดเรื่องหนึ่งแล้วจะทำให้จิตใจของเขาเกิดความท้อแท้และไม่อยากที่จะทำสิ่งนั้นไปตลอดชีวิตโดยที่ไม่เปิดโอกาสให้ตัวเองได้ลองทำสิ่งใหม่ ๆ หรือเปิดรับปัญหาต่าง ๆ เพื่อทำการแก้ไขมันอย่างถูกต้องนั่นเอง ซึ่งต้องขอบอกเลยนะคะว่าคนที่มีความคิดแบบ Fixed Mindset นี้มักจะเข้าสังคมและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างยากลำบากมาก ๆ ดังนั้นหากปรับปรุงในเรื่องของความคิดแบบนี้ได้ ก็จะทำให้การใช้ชีวิตของคุณดูมีสีสันและมีความหมายมากยิ่งขึ้น
3. Outward Mindset
Outward Mindset คือ กรอบความคิดแบบมีแนวคิดและทัศนคติประกอบการแก้ไขปัญหา โดยจะมุ่งเน้นไปที่ตัวของผลลัพธ์เป็นสำคัญ โดยที่ในระหว่างที่หาผลลัพธ์นั้นจะต้องให้ความสำคัญทั้งตัวเราเองและตัวของผู้อื่นด้วย โดย Mindset แบบนี้จะมีความจำเป็นต่อผู้ที่อยู่ในองค์กรหรือใครก็ตามที่จะต้องอาศัยทักษะของการทำงานเป็นทีม เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นเป็นที่น่าพึงพอใจและประสบความสำเร็จ ซึ่งผู้ที่มีความคิดแบบ Outward Mindset นี้จะเป็นผู้ที่เข้าสังคมเก่งและมีความสามารถในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้อย่างมีเหตุผล พร้อมทั้งลงมือทำในสิ่งที่ได้รับมาอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ
ซึ่งจะดีที่สุดหากเป็นผู้ที่มี Growth Mindset ร่วมด้วย เนื่องจากการมีความคิดแบบพัฒนานี้จะทำให้เราเห็นความสำคัญของตัวเราและตัวผู้อื่นมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การเติบโตในหน้าที่การงานสามารถเลื่อนขั้นได้เป็นอย่างดี การทำงานเกิดความราบรื่น มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนและทำให้สามารถประสบความสำเร็จได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่นำกรอบความคิดนี้มาปรับใช้
4. Inward Mindset
Inward Mindset คือ กรอบความคิดที่เห็นแก่ตัว หรือเห็นว่าตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่แนะนำให้ปฏิบัติค่ะโดยเฉพาะการทำงานที่จะต้องทำร่วมกันเป็นทีมหรือการใช้ชีวิตคู่ เนื่องจากการนำความคิดแบบ Inward Mindset นั้นจะทำให้เกิดความขัดแย้งต่าง ๆ ขึ้นมาได้ อีกทั้งสิ่งที่อยู่ในผลลัพธ์นั้นดันไม่มีอะไรเลยนอกจากตัวของตัวเอง ซึ่งแน่นอนค่ะว่าการที่มีความคิดในลักษณะนี้การที่จะทำตนเองให้สามารถประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ จะเป็นไปได้อย่างยากมาก ๆ ยิ่งเป็นเรื่องของการใช้ชีวิตคู่แล้วยิ่งน่าเป็นห่วง ดังนั้นควรนำตัวเองให้ออกมาจากกรอบความคิดเห็นแก่ตัวเหล่านี้แล้วพัฒนาสิ่งที่อยู่ผลลัพธ์ให้มีผู้อื่นด้วยจะถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
4 สัญญาณเตือน กรอบความคิดที่เห็นแก่ตัว
- รู้สึกว่าความคิด แนวทาง มุมมองของเรา นั้นถูกต้องแน่นอนเสมอ
- เริ่มตำหนิผู้อื่น หรือ สิ่งแวดล้อมก่อนเสมอ เพื่อพิสูจน์ว่าต้นเหตุไม่ได้เกิดจากตัวเรา
- ข่มเหงผู้อื่น โดยการหาจุดอ่อน และข้อผิดพลาดต่างๆ
- เข้าข้างตัวเอง คิดถึง และ มองแต่ความต้องการของตัวเอง หรือ มองว่าเราเสียผลประโยชน์ หรือ ได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง เท่านั้น
5. Entrepreneurial Mindset
Entrepreneurial Mindset คือ กรอบความคิดในเรื่องของการลงมือปฏิบัติ ซึ่งเป็นกรอบความคิดของผู้ประกอบการที่ควรมี โดยการที่จะลงมือปฏิบัติได้นั้นเขาผู้นั้นจะต้องมีความสามารถในการเรียนรู้และศึกษาในปัญหานั้น ๆ จนเกิดความเข้าใจเพื่อให้บรรลุและสำเร็จอย่างตรงตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ โดยจะต้องอาศัยการตั้งคำถามที่สนใจและนำคำถามนั้นมาหาคำตอบผ่านการสอบถาม สัมภาษณ์ ต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจอย่างมีเหตุผล และเมื่อรับรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ แล้วจึงนำปัญหาเหล่านี้มาทำการแก้ไขและลงมือปฏิบัติให้เกิดผลดีและเกิดความสำเร็จ
6. Agile Mindset
Agile Mindset คือ กรอบความคิดของการบริหารจัดการ ซึ่งการบริหารจัดการในที่นี้นั้นจะหมายถึง การบริหารสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดความทันสมัยและสามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังดำเนินไปได้เป็นอย่างดี ไม่ยึดติดกับสิ่งเก่า ๆ ที่ล้าสมัย แต่ต้องเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ที่กำลังจะเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังต้องใช้ทักษะของการทำงานเป็นทีมเข้ามาร่วมด้วยเพื่อให้การทำงานนั้นเป็นไปด้วยความราบรื่น รวมถึงการระดมความคิดในการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะการพัฒนานวัตกรรมที่แต่เดิมนั้นเป็นแบบนี้แต่เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้เป็นสิ่งที่ดียิ่งขึ้นได้หรือไม่นั่นเอง
7. Digital Mindset
Digital Mindset คือ กรอบความคิดดิจิตัล กล่าวคือตามทันโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีการพัฒนาขึ้นได้อย่างน่าเหลือเชื่อ ซึ่งหากคุณเป็นคนที่มีความคิดแบบ Digital Mindset นั้น จะช่วยให้การใช้ชีวิตของคุณนั้นง่ายขึ้น ซึ่งคำว่า Digital ในที่นี้นั้นไม่ได้หมายถึงเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียวหรือจะต้องเป็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงทุกสิ่งอย่างรอบตัวที่มีการพัฒนาให้มีความทันสมัย ปัจจุบันก็มีให้เราได้พบเห็นอย่างมากมายอยู่ที่เรานั้นสามารถก้าวทันมันหรือไม่
8. Innovation Mindset
Innovation Mindset คือ กรอบความคิดเชิงนวัตกรรม ซึ่งคำว่า ‘นวัตกรรม’ นี้ไม่ได้หมายถึงอุปกรณ์ที่มีความล้ำความทันสมัยอย่างที่เราได้เห็นกันในปัจจุบันเพราะนั่นคือเทคโนโลยีค่ะ แต่สำหรับนวัตกรรมนั้นคือการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในด้านที่ดีมากยิ่งขึ้น โดยผู้ที่มีความคิดแบบ Innovation Mindset นี้ จะเป็นผู้ที่ต้องการเห็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นให้สามารถเกิดขึ้นได้ จากการนำจินตนาการของตนเองมาทำการศึกษาและเรียนรู้จนเข้าใจและลงมือทำสิ่งเหล่านั้นให้สามารถเกิดขึ้นได้
5 ขั้นตอน พัฒนาองค์กร ในเชิงนวัตกรรม
- พัฒนา หรือ ปรับปรุงกลยุทธ์ให้เข้ากับนวัตกรรมองค์กร
- สร้างทีม หรือ อัพเดทรวบรวมความรู้ด้านนวัตกรรมใหม่ๆเสมอ
- ส่งเสริมความร่วมมือทั้งจาก ภายใน และ ภายนอก
- ลงทุนในเทคโนโลยี และ บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
- อย่าลืมให้ความสำคัญ กับ ความคิดสร้างสรรค์ควบคู่ไปด้วย
นอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้ที่พร้อมรับสิ่งใหม่ ๆ เข้าไป และไม่ย่อท้อต่อความลำบาก และมีความมุ่งมั่น อดทนและเพียรพยายามที่จะทำให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นได้จริง ซึ่งก็มีให้เราเห็นอยู่ในปัจจุบันอย่างมากมายเลยค่ะ แต่ที่เด่นชัดที่สุดเลยก็คือธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่กลายเป็นธุรกิจอันดับ 1 ของโลก ซึ่งในสมัยก่อนนั้นหากเรามองย้อนกลับไปตอนที่ธุรกิจนี้ยังไม่เป็นที่นิยม ก็มีความคิดว่าใครจะบ้าโอนเงินให้ใครก็ไม่รู้แล้วรอรับของ แต่ในปัจจุบันมันกลายเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในสังคมโลกของเราไปแล้วค่ะ
สรุป กรอบความคิด หรือ Mindset
กรอบความคิด หรือ Mindset คือ ความคิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ภายในจิตใจและภายในสมองของเรา โดยมีเราเองเป็นผู้ที่เลือกว่าคสรจะทำอย่างไร เมื่อไหร่ แบบใด ซึ่งกรอบความคิดที่มีความจำเป็นสำหรับคนทุก ๆ อาชีพเลยนั้นเห็นทีจะเป็น Growth Mindset ค่ะ เพราะความคิดแบบนี้นั้นเป็นการพัฒนาศักยภาพของเราที่มีอยู่แต่เดิมให้ดียิ่งขึ้น และดึงเราออกมาจากการหลบหลีกปัญหาที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือจากความวิตกที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ โดยเราจะเรียกผู้ที่หลบหลีกปัญหาเหล่านี้ว่ามีความคิดแบบ Fixed Mindset ซึ่งหากอยากหลุดพ้นจากความคิดแบบนี้นั้นก็จะต้องออกมาจากปัญหาเหล่านั้นเสียก่อนจึงจะทำให้คุณสามารถพัฒนาตนเองให้มีความคิดที่เติบโตได้นั่นเอง