โลโก้ (logo) หรือตราสัญลักษณ์ถือเป็นส่วนแรกๆ ที่คนจะมองเห็น ไม่ว่าโลโก้นั้นจะเป็นการออกแบบในลักษณะใด เช่น ตัวหนังสือ ถ้อยคำ หรือแม้กระทั่งรูปภาพ เป็นต้น โลโก้ไม่ใช่เพียงสิ่งที่เอาไว้ประดับประดาบนเว็บไซต์หรือสื่อต่างๆ เท่านั้น แต่โลโก้ยังเป็นสิ่งที่สื่อความหมายของแบรนด์ธุรกิจของเราอีกด้วย
โลโก้คืออะไร
ตามนิยามในเว็บไซต์ต่างประเทศให้ความหมายว่า โลโก้หมายถึงสัญลักษณ์ที่สร้างมาจากข้อความ ตัวหนังสือ และรูปภาพ เพื่อใช้แสดงตัวตนของธุรกิจนั้นๆ ว่าทำธุรกิจอะไร เช่น บริษัทไอบีเอ็ม (IBM) ใช้ตัวอักษร 3 ตัวแทนเป็นโลโก้ใช้การออกแบบแบบโนโนแกรม (Monogram) เป็นต้น
นอกจากนี้เว็บไซต์สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ให้ความหมายคำว่าโลโก้ไว้ว่า เครื่องหมายหรือตราสัญลักษณ์ซึ่งบริษัทหรือองค์กรหนึ่งทำขึ้นเพื่อใช้ทางการค้าหรือการประชาสัมพันธ์ ด้วยการพิมพ์ไว้บนสินค้าหรือเอกสารเป็นต้นของหน่วยงาน
ในภาษาไทยบางคนใช้คำว่าโลโก้ตามความหมายในภาษาอังกฤษ แต่บางคนใช้โลโก้แทนสัญลักษณ์ของหน่วยงานเพื่อการประชาสัมพันธ์งานหรือกิจกรรมที่จัดขึ้นเท่านั้น เช่น โลโก้การแข่งขันกีฬา โลโก้วันจัดกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม โลโก้งานประกวดกล้วยไม้ เป็นต้น
โลโก้มีประโยชน์ต่อแบรนด์อย่างไร
นอกจากจะทำให้แบรนด์ของเราเป็นมืออาชีพแล้ว โลโก้ยังทำหน้าที่อีกหลายอย่างทั้งทางตรงและทางอ้อม ผมเลยค้นหาประโยชน์ของโลโก้มาให้ผู้อ่านสัก 2 ข้อ ว่าตัวโลโก้มีประโยชน์อย่างไรในสายตาลูกค้า การสร้างแบรนด์ และในแง่มุมธุรกิจครับ
1. โลโก้ทำให้แบรนด์เราโดดเด่นกว่าคนอื่น
ให้ลองคิดดูนะครับว่าเราทำธุรกิจเกี่ยวกับซ่อมรถยนต์ รถมอเตอร์ไซต์ แล้วป้ายหน้าร้านเราไม่มีโลโก้เราจะโดเด่นกว่าร้านอื่นๆ อย่างไร ทั้งที่ร้านอื่นๆ ใช้เพียงแค่ตัวอักษรที่เขียนชื่อร้านเอาไว้ สมัยนี้คนเราใช้เวลาดูอะไรเพียงนิดเดียวเพราะฉะนั้นแล้วหน้าด้านแรกก็เป็นเรื่องโลโก้นี่แหละครับ ถ้าเราออกแบบได้โดเด่นแปปเดียวคนก็จำเราได้ครับ
2. โลโก้บอกลูกค้าได้ว่าเรากำลังทำธุรกิจอะไร
จะสวยและออกแบบให้ถูกหลักการอย่างเดียวคงไม่พอครับ โลโก้เราตรงสื่อให้เห็นถึงความเป็นธุรกิจของเราด้วย เช่น เราทำธุรกิจเกี่ยวกับการแพทย์เราก็ใส่ข้อความหรือสัญลักษณ์อะไรสักอย่างที่บอกว่าเรากำลังทำธุรกิจเกี่ยวกับการแพทย์ รับรองว่าคนจำเราได้ตั้งแต่แรกเห็นแน่นอน
โลโก้ 5 ประเภทที่ควรรู้จัก
1. โลโก้แบบโมโนแกรม (Monogram)
โลโก้แบบโมโนแกรมคือ โลโก้แบบตัวอักษรเอามาเรียงต่อกัน เช่น บริษัทคอมพิวเตอร์ IBM สำนักข่าว CNN หรือแม้กระทั่งช่องทีวีชื่อดังอย่าง HBO ก็ล้วนแต่ใช้การออกแบบโลโก้แบบโมโมแกรมทั้งสิ้นครับ ข้อดีของโมโนแกรมคือจดจำชื่อแบรนด์ได้ง่ายครับลองนึกดูสิว่าถ้าคุณต้องจำชื่อหน่วยงาน NASA เต็มๆ อย่าง National Aeronautics and Space Administration คุณจะจำได้ไหมครับ
2. โลโก้แบบ Wordmark (logotype)
โลโก้แบบ Wordmark จะคล้ายๆ กับแบบโมโนแกรมคือ ออกแบบเป็นข้อความเป็นชื่อของบริษัท ตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น กูเกิ้ล (Google) เซ็นทรัลเวิร์ล (Central World) หรือเฟสบุ๊ค (Facebook) แบบนี้จะทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ง่ายเช่นกันเพราะทั้งโลโก้และชื่แบรนด์เป็นชื่อเดียวกันครับ
3. โลโก้แบบ Pictorial mark (logo symbol)
โลโก้แบบ Pictorial mark จะใช้รูปภาพเป็นสื่อ เช่น โลโก้ของบริษัทแอปเปิ้ล เป็นต้น ข้อดีของโลโก้แบบนี้คือจดจำง่ายกว่าเพราะไม่มีตัวหนังสือ แต่ก็มีข้อเสียคือ ลูกค้าจำชื่อแบรนด์สินค้าไม่ได้และไม่ได้สื่อว่าบริษัทกำลังทำธุรกิจอะไรเลยครับ
4. โลโก้แบบนามธรรม (Abstract logo mark)
โลโก้แบบนามธรรมในเว็บไซต์ต่างประเทศจัดอยู่ฝนประเภทย่อยของโลโก้แบบ Pictorial mark คือ บริษัทจะออกแบบโลโก้ที่ซ่อนความหมายเอาว่าให้คนตีความได้หลายแง่มุม เข่น โลโก้ของบริษัทไนกี้แสดงถึงความเคลื่อนไหวและความอิสระครับ
5. โลโก้แบบมาสคอต (Mascot)
มาสคอตหมานถึงการใช้ตัวละครเป็นสื่อหรือภาพลักษณ์ของแบรนด์ เช่น มาริโอ้เป็นมาสคอตของบริษัทนินเทนโด หรือโซนิคเป็นมาสคอตของบริษัทเซก้า เป็นต้น แต่มีมาสคอตแล้วอาจมีโลโก้เพิ่มอีกก็ได้ครับ แต่แบรนด์ที่มัแต่มาสคอตอย่างเดียวก็มีเช่นกันคือ ไก่ทอดเคเอฟซี ครับ